วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"

มีคนแนะนำให้ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ เมื่อก่อนก้ออ่านแล้ว ก้อ เออออ ว่า
ฮืม ใช่ แต่หลังจากบวชก้อเริ่มคิดว่ามันง่ายไป มันจับประเด็นแค่ครึ่งเดียวเกินไป
แล้วก้อเริ่มหาคำตอบจากหลาย ๆ ที่ แล้วก้อพบว่ามีคนอีกมากมาย ที่ทักท้วง
ว่ามันบิดเบือนหลักทางวิทยาสาสตร์ แล้วคำสอนมารวมกัน หรืออาจไม่ได้ตั้งใจ
แต่ตามหลักความเชื่อทางพุทธเราจึงควรมองให้ออก บอกให้ชัด
นี่เป็นอีกความรู้ที่อยากให้เพื่อน ๆ อ่าน ( ลองหาหนังสือเล่มนั้นมาอ่านประกอปด้วยก้อดีครับ )


วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"
โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ


เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมานี้
ผมมีโอกาสได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ คุณเมตตา อุทกะพันธุ์
ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่

การแจ้งให้ทางบริษัทฯ ทราบว่า หนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ซึ่งเขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา
มีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่ผิดพลาด & คลาดเคลื่อน อย่างมาก
(หากพูดแรงๆ ก็คือ แม้การบิดเบือนข้อมูลต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
แต่ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้างไปแล้ว
และเนื่องจากวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทักท้วงและทำให้ผู้ที่สนใจทั่วไปตระหนักในประเด็นนี้)
ทั้งนี้คุณเมตตาได้กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้ทักท้วง
เพราะในราว 1 ปีที่หนังสือเล่มนี้ออกมา ไม่มีใครแจ้งมาว่าหนังสือมีข้อผิดพลาด
คุณเมตตายังกล่าวด้วยว่า บ.อมรินทร์ให้ความสำคัญกับความถูกต้องทางวิชาการเป็นอย่างสูง

ผมจึงเรียนคุณเมตตาไปว่า ในช่วงที่หนังสือเล่มนี้พิมพ์ซ้ำได้สัก 3-4 ครั้งนั้น
ผมได้รับการติดต่อจากบรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ (คุณเทวัญกานต์ มุ่งปั่นกลาง)
ทั้งทางโทรศัพท์และทางจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการ
เพื่อให้ทำการแปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษ
แต่ในขณะนั้น ผมได้แจ้งบรรณาธิการไปว่า หนังสือเล่มนี้มีข้อเท็จจริงในทางวิทยาศาสตร์ผิดพลาดมาก
หากจะมีการแปล จำเป็นต้องแก้ไขความผิดพลาดเสียก่อน
มิฉะนั้น ทั้งผู้เขียน & สำนักพิมพ์ จะสูญเสียความน่าเชื่อถือในระดับสากล
ทั้งนี้ ได้ย้ำเตือนบรรณาธิการไปอย่างน้อย 2 ครั้ง

ต่อมา ผมได้มีโอกาสสนทนากับผู้เขียน (คือ ทพ.สม) ทางโทรศัพท์
และได้บอกไปว่า มีประเด็นที่ต้องแก้ไขหลายประเด็น และอยากใช้การพบกันเพื่อพูดคุยชี้แจง
แต่ ทพ. สม บอกว่าให้ผมแจ้งไปว่าประเด็นใดบ้าง เขาจะได้ไปเตรียมตัวมาก่อน...
ราว 1 ปีผ่านไป ประเด็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ถูกจุดขึ้นอีกครั้ง
ผมจึงขอนำตัวอย่างความผิดพลาด (บางส่วน) ในหนังสือเล่มนี้มาบันทึกไว้เป็นหล้กฐาน
เพื่อใช้ในการเรียนรู้ & อ้างอิงได้ต่อไป


อ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ งดใช้คำไม่สุภาพนะจ๊ะ

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"

มีคนแนะนำให้ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ เมื่อก่อนก้ออ่านแล้ว ก้อ เออออ ว่า
ฮืม ใช่ แต่หลังจากบวชก้อเริ่มคิดว่ามันง่ายไป มันจับประเด็นแค่ครึ่งเดียวเกินไป
แล้วก้อเริ่มหาคำตอบจากหลาย ๆ ที่ แล้วก้อพบว่ามีคนอีกมากมาย ที่ทักท้วง
ว่ามันบิดเบือนหลักทางวิทยาสาสตร์ แล้วคำสอนมารวมกัน หรืออาจไม่ได้ตั้งใจ
แต่ตามหลักความเชื่อทางพุทธเราจึงควรมองให้ออก บอกให้ชัด
นี่เป็นอีกความรู้ที่อยากให้เพื่อน ๆ อ่าน ( ลองหาหนังสือเล่มนั้นมาอ่านประกอปด้วยก้อดีครับ )


วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"
โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ


เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมานี้
ผมมีโอกาสได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ คุณเมตตา อุทกะพันธุ์
ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่

การแจ้งให้ทางบริษัทฯ ทราบว่า หนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ซึ่งเขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา
มีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่ผิดพลาด & คลาดเคลื่อน อย่างมาก
(หากพูดแรงๆ ก็คือ แม้การบิดเบือนข้อมูลต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
แต่ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้างไปแล้ว
และเนื่องจากวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทักท้วงและทำให้ผู้ที่สนใจทั่วไปตระหนักในประเด็นนี้)
ทั้งนี้คุณเมตตาได้กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้ทักท้วง
เพราะในราว 1 ปีที่หนังสือเล่มนี้ออกมา ไม่มีใครแจ้งมาว่าหนังสือมีข้อผิดพลาด
คุณเมตตายังกล่าวด้วยว่า บ.อมรินทร์ให้ความสำคัญกับความถูกต้องทางวิชาการเป็นอย่างสูง

ผมจึงเรียนคุณเมตตาไปว่า ในช่วงที่หนังสือเล่มนี้พิมพ์ซ้ำได้สัก 3-4 ครั้งนั้น
ผมได้รับการติดต่อจากบรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ (คุณเทวัญกานต์ มุ่งปั่นกลาง)
ทั้งทางโทรศัพท์และทางจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการ
เพื่อให้ทำการแปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษ
แต่ในขณะนั้น ผมได้แจ้งบรรณาธิการไปว่า หนังสือเล่มนี้มีข้อเท็จจริงในทางวิทยาศาสตร์ผิดพลาดมาก
หากจะมีการแปล จำเป็นต้องแก้ไขความผิดพลาดเสียก่อน
มิฉะนั้น ทั้งผู้เขียน & สำนักพิมพ์ จะสูญเสียความน่าเชื่อถือในระดับสากล
ทั้งนี้ ได้ย้ำเตือนบรรณาธิการไปอย่างน้อย 2 ครั้ง

ต่อมา ผมได้มีโอกาสสนทนากับผู้เขียน (คือ ทพ.สม) ทางโทรศัพท์
และได้บอกไปว่า มีประเด็นที่ต้องแก้ไขหลายประเด็น และอยากใช้การพบกันเพื่อพูดคุยชี้แจง
แต่ ทพ. สม บอกว่าให้ผมแจ้งไปว่าประเด็นใดบ้าง เขาจะได้ไปเตรียมตัวมาก่อน...
ราว 1 ปีผ่านไป ประเด็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ถูกจุดขึ้นอีกครั้ง
ผมจึงขอนำตัวอย่างความผิดพลาด (บางส่วน) ในหนังสือเล่มนี้มาบันทึกไว้เป็นหล้กฐาน
เพื่อใช้ในการเรียนรู้ & อ้างอิงได้ต่อไป


อ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ งดใช้คำไม่สุภาพนะจ๊ะ